ไมโครคอนโทรเลอร์เบื้องต้น
ไมโครคอนโทรลเลอร์เบื้องต้น
ไมโครคอนโทรลเลอร์ถูกนำไปใช้ในระบบสมองกลฝังตัว คือ ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ถูกซ่อนอยู่ภายในเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า กลไกขนาดเล็กที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มความชาญฉลาด หรือ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเครื่องมือ ระบบสมองกลฝังตัวประกอบด้วย HARDWARE และ SOFTWARE ที่ทำงานร่วมกัน มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น smart devices (อุปกรณ์นำสมัย) , intelligent (ระบบชาญฉลาด , ระบบปัญญาประดิษฐ์) หรือ automated equipment (ผลิตภัณฑ์อัตโนมัติ) เป็นต้น 1. ขนาดของคอมพิวเตอร์
ก่อนอื่นเรามารู้จักกับขนาดของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีการแบ่งออกเป็น 6 ขนาด ดังนี้
1.1 ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ทีมีความสามารถมากที่สุด ประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ได้ขนาดใหญ่มีหน่วยความจำมาก ทำงานในระบบเครือข่าย
1.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ใช้กันทั่วไป ใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก ใช้เก็บสารสนเทศในรูปฐานข้อมูล ทำงานในระบบเครือข่าย
1.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถอยู่ระหว่างเมนเฟรมคอมพิวเตอร์กับไมโครคอมพิวเตอร์ แต่สามารถทำงานในระบบรับส่งข้อมูลได้มากกว่า
1.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สามารถทำงานได้โดยลำพังหรือเครือข่ายก็ได้
1.5 คอมพิวเตอร์แผงเดียว (Single board computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่หน่วยทำงานของระบบประกอบอยู่บนแผงวงจรแผ่นเดียว ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานควบคุมเฉพาะอย่างที่มีความซับซ้อนของการควบคุมสูง
1.6 คอมพิวเตอร์ชิปเดียว (Single chip computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ที่หน่วยทำงานของระบบบรรจุอยู่ภายในชิปไอซีเพียงแค่ตัวเดียว เพื่อเป็นคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับงานควบคุมขนาดเล็กที่สามารถบรรจุลงในชิ้นงานที่จะควบคุมได้ โดยส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า "ไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์"
ซึ่งจะเป็นเนื้อหาที่เราจะเรียนรู้กันต่อไป 2. ระบบของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใดจะมีระบบ (System) พื้นฐานของคอมพิวเตอร์เหมือนกัน คือ 2.1 หน่วยนำข้อมูลเข้า (Input unit) จะทำหน้าที่รับข้อมูลจากภายนอกเข้าไปประมวลผลในระบบ 2.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processor Unit) หรือรู้จักกันในชื่อ CPU จะทำหน้าที่ประมวลผลตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าที่เรียกว่าโปรแกรมซึ่งจะเก็บไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าจะใช้ไอซีไมโครโปรเซสเซอร์มาทำหน้าที่นี้ 2.3 หน่วยความจำ (Memory unit) จะทำหน้าที่เป็นหน่วยเก็บโปรแกรมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะใช้ไอซีหน่วยความจำแบบ ROM และเก็บข้อมูลที่ใช้ในระบบใช้ไอซีหน่วยความจำแบบ RAM 2.4 หน่วยนำข้อมูลออก (Output unit) จะทำหน้าที่นำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วออกไปใช้ภายนอกระบบ
3. ระบบคอมพิวเตอร์ที่สร้างจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ระบบคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันทำงานด้วยสัญญาณไฟฟ้าจึงถูกสร้างมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในรูปของวงจรรวม (Integrated Circuit) ที่เรียกกันว่าไอซี (IC) ดังนั้นเราจึงได้คอมพิวเตอร์ที่สร้างจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังรูป
4. ไมโครคอนโทรลเลอร์
ไอชีไมโครคอนโทรลเลอร์ เกิดจากการสร้างหน่วยทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ไว้ในไอซีเพียงแค่ตัวเดียว นอกจากนี้ยังได้มีการวงจรต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับงานควบคุมไว้ให้ด้วย เช่น วงจรตั้งเวลา (Timer) ดังรูป
5. ความแตกต่างระหว่างไอซีไมโครโปรเซสเซอร์ และ ไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์ โครงสร้างภายในของไอซีไมโครโปรเซสเซอร์จะประกอบไปด้วยหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์และลอจิก (ALU) และหน่วยควบคุม
ส่วนโครงสร้างของไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์จะประกอบไปด้วยหน่วยคำนวณทางคณิตศาสตร์และลอจิก (ALU) และหน่วยควบคุมเหมือนกับไอซีไมโครโปรเซสเซอร์ แล้วยังรวมหน่วยความจำและพอร์ต I/O ไว้ภายในด้วย และยังเพิ่มวงจรต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับงานควบคุมไว้ด้วย เช่น Timer , Serial port เป็นต้น
ต่อไปจะเปรียบเทียบคุณสมบัติของไอซีไมโครโปรเซสเซอร์ และ ไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์
6. จะเลือกใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เมื่อใด ?
6.1 เป็นงานที่ต้องการประมวลผลข้อมูล
6.2 ติดต่อกับอุปกรณ์อินพุต – เอาท์พุต จำนวนมาก
6.3 มีการคำนวณที่ซับซ้อน
6.4 ใช้ความเร็วในการประมวลผลสูง
6.5 ใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูลมาก
6.6 ไม่จำกัดเรื่องของขนาดแผงวงจร
7. จะเลือกใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เมื่อใด ?
7.1 เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม / จัดการสัญญาณอินพุต - เอาท์พุต
7.2 เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อินพุต เอาท์พุตไม่เกิน 10 แบบ
7.3 มีการคำนวณที่ไม่ซับซ้อน
7.4 ใช้ความเร็วในการประมวลผลไม่สูงมาก
7.5 ใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูลไม่มาก
7.6 ต้องการแผงวงจรควบคุมที่มีขนาดเล็ก
8. ลักษณะงานที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์
งานที่เหมาะกับการนำไมโครคอนโทรลเลอร์ไปใช้งานจะเป็นงานควบคุมที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ I/O เช่น ควบคุมมอเตอร์ ควบคุม LCD เป็นต้น
http://www.vcharkarn.com/vblog/35955
http://www.vcharkarn.com/vblog/35955
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น